tesla ประวัติ

หัวข้อ

tesla ประวัติ

tesla ประวัติ เป็น บริษัท รถยนต์ไฟฟ้าอเมริกันและเป็นพลังงานสะอาดใน Palo Alto, California ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 โดย Martin Eberhard และ Marc Tarpening วิศวกรชาวอเมริกัน ในเวลานั้นมันถูกเรียกว่า Tesla Motor (Tesla Motors) และชื่อนี้ถูกตั้งค่าให้ชม Nikola Tesla นักประดิษฐ์ของวิศวกรเครื่องกล และใครคือวิศวกรไฟฟ้าเซอร์เบีย?

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงผู้ก่อตั้งร่วมของ บริษัท สำหรับผู้ก่อตั้งร่วมของ บริษัท Ian Wright, Iron Musk และ J. B. Straubell ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ซีรีส์ A ได้รับการเลี้ยงดูให้เทสลาเป็น 7.5 ล้านดอลลาร์และ Eron Mask บริจาค 6.5 ล้านเหรียญสหรัฐและ Eron Mask (Elon Mask) กลายเป็นประธานของ บริษัท Martin Everhalt ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น CEO ของ Tesla (Tesla)

บริษัท เทคโนโลยีที่ให้เทสลาเป็นผู้ผลิตรถยนต์เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่มีคอมพิวเตอร์แบตเตอรี่และซอฟต์แวร์มอเตอร์ หลังจากนั้นฉันก็นำ Tzero รถยนต์ไฟฟ้าทำด้วยมือ มันได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นในจำนวน จำกัด โดย บริษัท โปรโมชั่น AC ในต้นปี 2000 และได้รับการออกแบบให้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างรถยนต์ไฟฟ้าระดับสูงระดับสูงครั้งแรก

วิสัยทัศน์ Elon Musk (Elon Musk) แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านพลังงานทั่วโลกและยานพาหนะคุณภาพสูงที่ไม่ต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิล จุดประสงค์ของเทสลาคือจุดเริ่มต้นของรถสปอร์ตระดับพรีเมี่ยมที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ผู้ใช้ในช่วงแรก ๆ และผลิตยานพาหนะกระแสหลัก ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของ Tesla ซึ่งรวมถึงรถยนต์ราคาไม่แพง ได้แก่ Model S, Model 3, Model X, Model Y, Powerwall, Powerpack และ MeGAPCK เซลล์แสงอาทิตย์เซลล์แสงอาทิตย์และกระเบื้องหลังคาสุริยะ

tesla ประวัติ รุ่นรถไฟฟ้าเทสล่า (Tesla) ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

tesla ประวัติ หลังจากได้ทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของ Tesla มากขึ้นไปแล้ว ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับรถยนต์ Tesla แต่ละรุ่นดีกว่าค่ะว่าแบรนด์ Tesla จำหน่ายรถยนต์รุ่นไหนบ้าง แต่ละรุ่นมีจุดเด่นแบบไหน และ Tesla ราคาแต่ละรุ่นจะอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ เรามาดูกัน

Tesla Model S

Tesla Model S เป็นรถยนต์รุ่นแรกที่มีการจำหน่ายในวงกว้าง ซึ่งมีส่วนต่อการเปลี่ยนภาพของรถยนต์ไฟฟ้าต่อมุมมองคนทั่วไปในแง่ของการใช้งานจริงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรุ่นนี้นั้นเป็นรถยนต์ระบบไฟฟ้าล้วนแบบซีดาน 5 ประตู หรือที่เรียกว่า liftback เปิดตัวในครั้งแรกเมื่อปี 2012 ซึ่งเวอร์ชั่นแรก ๆ นั้นจะยังไม่สามารถเดินทางได้ไกลนัก สำหรับเวอร์ชั่นล่าสุด Tesla Model S 2021 ได้ถูกพัฒนาสมรรถนะขึ้นมา โดยสำหรับในรุ่นท็อป Plaid และ Plaid+ ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 3 ตัว ให้กำลังสูงสุดถึง 1,020 แรงม้า และ Tesla ระบุว่า สามารถทำความเร็วจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ภายในเวลาต่ำกว่า 2 วินาที ทำความเร็วสูงสุดได้ 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมถึงเดินทางได้เกิน 800 กิโลเมตร ต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 รอบ

Tesla Model 3

Tesla Model 3 เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ sedan 4 ประตู ในสไตล์แบบ fastback โดยจำหน่ายเป็นครั้งแรกในช่วงกลางปี 2017 ก่อนจะขึ้นแท่นเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในโลกด้วยสถิติ 800,000 คัน จนถึงปี 2020

สำหรับเวอร์ชั่นปัจจุบันนี้ Tesla Model 3 2023 มีสมรรถนะขับเคลื่อนด้วยกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ที่ทำงานแบบอิสระ รุ่นสแตนดาร์ดสามารถทำความเร็วจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเวลา 3.1 วินาที และทำความเร็วสูงสุดได้ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เดินทางได้ไกลถึง 420 กิโลเมตร ต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 รอบ และยังมาพร้อมกับอุปกรณ์สำหรับระบบช่วยขับอัตโนมัติที่จะมีการอัปเกรดได้ในอนาคตด้วย

Tesla Model X

สำหรับ Tesla Model X เป็นรถยนต์ไฟฟ้า crossover ขนาดกลาง (mid-size) มีการเริ่มจำหน่ายมาตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งหนึ่งในความโดดเด่นของรุ่นนี้คือประตูด้านหลังที่เปิด-ปิดในลักษณะของปีกนก (falcon-wing doors)

โดย Tesla Model X เวอร์ชั่นปัจจุบันปี 2021 มีการปรับดีไซน์ใหม่ทั้งภายนอกและภายใน และคงไว้ด้วยสมรรถนะสุดยอด จึงทำให้ได้ชื่อว่าเป็นรถ SUV ที่เร็วที่สุดในโลก โดยในรุ่นท็อป Plaid ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 3 ตัว ส่งกำลังสูงสุด 1,020 แรงม้า ทำความเร็วจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายใน 2.5 วินาที และเดินทางได้มากกว่า 500 กิโลเมตร ต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 รอบ

Tesla Model Y

Tesla Model Y เป็นรถยนต์ไฟฟ้า compact crossover SUV เริ่มจำหน่ายอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 2020 มีการพัฒนาโดยใช้แพลตฟอร์มของ Tesla Model 3 รวมถึงใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นแบบเดียวกันถึง 75 เปอร์เซ็นต์

สำหรับระบบขับเคลื่อนของ Tesla Model Y มีทั้งแบบขับเคลื่อน 2 ล้อ และขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยในรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อทำความเร็วจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายใน 4.4 วินาที เดินทางได้ไกลกว่า 520 กิโลเมตร ในการชาร์จแบตเตอรี่ 1 รอบ

ภาษีรถยนต์ไฟฟ้าในไทย

1. ภาษีรถยนต์เครื่องยนต์ไฮบริด (Hybrid)

หากเป็นรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3,000 ซีซี เสียภาษี 8% แต่จะเสียเพียง 4% จนถึงปี 2568 และหากเครื่องยนต์มากกว่า 3,000 ซีซี จะเสียภาษี 16-26% ตามปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ระหว่างนี้จนถึงปี 2568 กรมสรรพาสามิตลดาภาษีให้ 50%

2. ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV)

ปกติจะเสียภาษี 8% แต่เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า กรรมสรรพสามิตจึงให้แรงจูงใจ โดยลดภาษีออกเป็น 2 ระดับ คือในปี 2561-2565 เสีย 0% จาก 2% และ ปี 2566-2568 เสีย 2%  ในกรณีของรถ EV การนำเข้าจากต่างประเทศจะเสียภาษีในอัตรา 80% ของราคาประเมิน ซึ่งยกเว้นการนำเข้าจากประเทศจีน ที่ไม่มีอัตราภาษี เพราะเป็นข้อตกลงอาเซียน-จีน โดยขณะนี้มีค่ายเอ็มจี (MG) และ เกรทวอลล์มอเตอร์ (GWM) ที่ได้นำเข้ารถ EV มาทำการตลาดในไทยแล้ว ขณะที่ค่ายรถญี่ปุ่นยังไม่มีความชัดเจน ค่ายยุโรปมีเพียงเมอร์ซีเดสเบนซ์ (Mercedes-Benz) เท่านั้นที่ใช้วิธีการเปิดสายการผลิตในประเทศ ซึ่งจะเริ่มในปี 2565

สำหรับการคำนวณราคา Tesla ก็มีจะมีการใช้หลักเกณฑ์การคำนวณจาก CIF : Cost, Insurance, and Freight (ราคาสินค้า + ค่าประกันภัย + ค่าขนส่ง) โดยค่าประกันภัยและค่าขนส่งจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ของราคาสินค้า และภาษีอากรขาเข้า ในการนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐอเมริกาจะคิดภาษีอากรขาเข้าอยู่ที่ร้อยละ 80 ของราคา CIF นั่นเอง

โดยจะมีการเสียภาษีประจำปีเพิ่มอีกราว ๆ 1,300 บาทอีกด้วย โดยก่อนทำการซื้อจะต้องทำการเช็คราคาซื้อขายให้เรียบร้อย เพื่อให้มั่นใจว่าได้ราคาที่เป็นมาตรฐานไม่แพงจนเกินไป เพราะอย่าลืมว่าอาจจะต้องมีการเสียภาษีเพิ่มเติมภายหลัง  รถยนต์ไฟฟ้าถือได้ว่าเป็นความหวังใหม่ของอนาคต ที่จะช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หนึ่งในนั้นเองก็คือ Tesla ที่ถือว่าเป็นผู้นำในด้านนี้มาเป็นเวลาหลายปี และแม้ว่าทางบริษัทจะเพิ่งเข้ามาจดทะเบียนในไทยแบบสด ๆ ร้อน ๆ แล้ว อย่างไรก็ตามเราก็ยังต้องรอติดตามกันต่อไปอีกสักหน่อยค่ะ เผื่อว่าราคารถเทสล่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและช่วยให้คนไทยจับจองกันได้ง่ายมากขึ้น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง